12 October 2010

กุหลาบหิน

กุหลาบหิน

กุหลาบ สวยงาม อ่อนหวาน แต่แฝงไว้ด้วยคมแห่งหนามแหลม
คอยทิ่มแทง แก่ผู้ที่ประมาทเลินเล่อ

หิน แข็งแกร่ง หนักแน่น และทนทาน

กุหลาบหิน ความงามที่หนักแน่น และ ทนทาน แต่หากใครไม่ระวัง อาจพลาดพลั้งเจ็บตัว

กุหลาบหิน ต้นไม้แห่งความจริงใจ และความมั่นคงยืนนาน มีอายุหลายปี

ชื่อสามัญ
Flaming Katy

ชื่อวิทยาศาสตร์
Kalanchoe Blossfeldiana

ตระกูล
Crassulaceae (orpine)
ถิ่นกำเนิด มาดากาสการ์

ลักษณะทั่วไป
กุหลาบหินหรือกาลังโชเป็นไม้ประดับกระถาง เป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกทั้งในและนอกอาคาร แต่ปลูกได้ดีเมือ่อยู่
ในกลางแจ้ง เพราะเป็นพืชชอบแดด กุหลาบหินเมีใบค่อนข้างกลมเป็นหยักมนซ้อนๆกันคลายดอกกุหลาบแต่
ไม่อ่อนช้อยจึงได้ชื่อว่ากุหลาบหิน กุหลาบหินเป็นไม้อวบน้ำอายุหลายปีมีพุ่มเตี้ยสูง 30 - 40 เซนติเมตร ใบเดี่ยว
สีเขียวกลม ปลายมนขอบใบหยักเป็นมน ออกเวียนสลับซ้อนๆ กัน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกชูสูงเหนือพุ่มใบ เป็นดอกย่อยขนาดเล็กๆจำนวนมาก สีเเดงอมส้มสด ปัจุปันมีพันธุ์ที่เป็นพุ่มเตี้ยกะทัดรัด ใบขนาดเล็ก และมีดอกสีต่างๆ เช่น ชมพู ส้ม เหลือง ฯลฯออกดอกฤดูกาลเดียว คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม เป็นพืชที่เลี้ยงง่าย แตกหน่อไว ถ้าขยันแยกหน่อ กุหลาบหินจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น มีบางคนนิยมปลูกกุหลาบหินเป็นไม้มงคล เพื่อถือเคล็ดว่าปลูกแล้ว จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี อย่างไรก็ตามกุหลาบหินเป็นไม้ประดับที่น่าสนใจที่รูปทรงดูสวยแปลกตา แตกต่างจากไม้ชนิดอื่น ถึงแม้มีความสามารถในการดูดสารพิษน้อย

สภาพการปลูก
เป็นพรรณไม้ทีปลูกที่แสงแดดจัด ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งกลางแจ้งและปลูกเป็นไม้กระถางภายในอาคาร กุหลาบหินปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิดปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน
2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอดหรือปักชำใบ เพราะเมล็ด

การดูแลรักษา

ดอกจะทยอยบานนาน 2 - 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว แม้ดอกจะเล็ก แต่สีสันสะดุดตามาก กุหลาบหินถ้าปลูกในร่มใบจะเขียวเข้มและไม่ค่อยออกดอกเพราะชอบแดดจัด จึงควรตั้งไว้ในที่แสงอย่างเพียงพอหรือแสงแดดส่องถึงให้น้ำสัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง ก็เพียงพอ ใช้ปุ๋ยหมักหรืปุ๋ยคอกละลายน้ำรดในช่วงที่กำลังออกดอก

20 September 2010

คุณนายตื่นสาย

คุณนายตื่นสาย

คุณนายตื่นสาย ถ้าไม่ใช่คุณนายก็ตื่นสายไม่ได้
ดังคำสอนที่ว่า

"อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา"

ถ้าทำแบบนี้ได้ เชื่อว่าทุกๆคน บนโลกนี้คงได้เป็นคุณหญิง คุณนาย คุณชาย (ไม่นอนตื่นสาย)แน่นอนเลยทีเดียว



คุณนายตื่นสาย

ชื่อสามัญ: Flowering Purslane, Pussley
วงค์: Portulacaceae:
ชื่อวิทยาศาสตร์: Portulaca oleracea L.
ถิ่นกำเนิด: อินเดีย
คุณนายตื่นสายเป็นไม้ดอกอายุหลายปี พุ่มสูง 10-20 cm. เจริญเร็ว ลักษณะลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยตามผิวดิน แผ่นใบอวบน้ำ มักออกดอกช่อตามซอกใบและปลายยอด มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอกบาง มีสีขาว เหลือง ชมพู บานเย็น ส้ม แดง และสองสีในดอกเดียวกัน ออกดอกดกตลอดปี ดอกของคุณนายตื่นสายจะเริ่มทยอยบานเมื่อได้รับแสงแดดจัดในตอนเช้า ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ "คุณนายตื่นสาย"
ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่กลับแกมรูปรี กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายใบ
แหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบอวบน้ำ ผิวใบด้านบนสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์มีขอบใบขลิบสีแดง
สีของดอก มีสีขาว ชมพู แดง เหลือง ส้ม ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกชั้นเดียว
บอบบาง ขอบกลีบดอกหยักเป็นคลื่น บานเมื่อได้รับแสงแดดตอนเช้า ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร
การปลูกและการดูแลรักษา
คุณนายตื่นสายนั้นเหมาะที่จะปลูกในที่ ๆ มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง
ปกติคุณนายตื่นสายชอบดินทรายหรือดินปนทราย ไม่ชอบแฉะ จึงทนแล้งได้ดีกว่าแฉะ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมดิน ที่มีการระบายน้ำได้ดี

14 September 2010

ดอกแตงกวา

ดอกแตงกวา

ดอกแตงกวา ดอกไม้ที่ไม่ค่อยมีใครเห็น แต่ทว่าทุกคนสนใจแต่ที่ผลของมัน

เปรียบไปแล้วก็เหมือนกับคนเรา ที่ทุกครั้งทุกครา ก็จะมาหาแต่ผล(ประโยชน์) ให้ได้มาซึ่งตอบสนองความต้องการส่วนตน ต้องการที่จะเรียนรัดขั้นตอน ให้ได้เร็วที่สุด ดังนั้น น้อยคนนักที่จะสนใจถึงวิธีการได้มาตามกระบวนการที่ควรเป็นไป จึงขาดโอกาสที่จะได้สัมผัสกับการเรียนรู้ พบเจอ กับปัญหาอุปสรรค พลาดไปกับความสวยงามที่เรียงรายระหว่างทาง
มีหลายสิ่งที่คนต้องเรียนรู้ และเรียนรู้ต้องครบกระบวนการ เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่แน่วแน่มากขึ้น

แตงกวา
ชื่อสามัญ : Cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis Sativus Linn.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
เดิมนั้นแตงกวาเป็นพืชพื้นถิ่นของอินเดีย ความที่แตงกวาคงเป็นนักเดินทางจึงมุ่งหน้าไปลงหลักปักฐานยังกรีซ อิตาลี ฝรั่งเศส จนถึงอเมริกาเหนือ เมื่อราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มมีการปลูกแตงกว่า รวมแล้วมนุษย์เรารู้จักแตงกวามามากกว่า 3,000 ปีเลยทีเดียว
ลักษณะทั่วไป
แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อยที่มีมือเกาะ ช่วยพยุงลำต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ลำต้นยายประมาณ 2-3 เมตร มีรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีมุมแหลม 3-5 แฉก ดอกเป็นดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะเกิดเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ดอกตัวเมียจะเกิดเดี่ยวๆ มีสีเหลือง สังเกตได้ง่าย คือมี ลักษณะคล้ายแตงกวาผลเล็ก ๆ ติดกับกลีบดอก ส่วนดอกตัวผู้จะมีเฉพาะก้านดอกเท่านัน ในการปลูกแตงกวา ถ้ามีดอกตัวเมียมากจะทำให้ได้ผลผลิตสูง
ผลในขณะยังเล็กจะสังเกตเห็นหนามได้อย่างชัดเจน หนามของแตงกวาจะมีสีขาวและสีดำ แตงกวาหนามสีดำจะเก็บได้เพียง 3-4 วัน หลังเก็บจากต้น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง นิ่ม ไม่กรอบ ส่วนแตงกวา ที่มีหนามสีขาวจะมีคุณสมบัติพิเศษ เก็บไว้ได้นานประมาณ 7 วัน โดยไม่นิ่ม และไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็ว
แตงกวาเป็นพืชที่ชอบน้ำและความชื้นพอประมาณ ระยะแรกควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ จนแตงกวาเริ่มออกดอกจึงลดลงเหลือ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ไม่ควรปล่อยให้แตงกวาขาดน้ำ ในระยะออกดอก จะทำให้ดอกร่วง แตงกวาที่ขาดน้ำจะมีรสขม
เมื่อแตงกวามีอายุ 30-40 วัน หลังจากหยอดเมล็ดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากเก็บผลแตงกวาแล้วต้องรีบนำเข้าที่ร่มทันที ห้ามล้าง เพราะจะทำให้ผลเหลืองเร็ว หลังฝนตกใหม่ ๆ ไม่ควรเข้าไปเก็บเกี่ยว ควรรอให้ดินแห้งดีก่อน
แตงกวาชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ถ้าร้อนเกินไปแตงกวาก็จะมีแต่ดอกตัวผู้ ทำให้ได้ผลผลิตน้อย สภาพอุณหภูมิของไทยสามารถปลูกแตงกวาได้ตลอดปี ผลผลิตที่ได้ก็อาจแตกต่างกันไปบ้าง
สรรพคุณทางยา
น้ำแตงกวา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก
ใบ สามารถใช้แก้ท้องเสีย บิด
เถา ช่วยลดความดันโลหิตได้
เมล็ดแก่ ใช้เป็นยาขับพยาธิ
ผลและเมล็ดอ่อน มีสรรพคุณฝาดสมาน เสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหายน้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ทำให้ผิวขาวใสและนุ่มนวล ช่วยบำรุงผมและเล็บ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์และบวมน้ำถ้ากินเป็นประจำ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

11 September 2010

พุทธรักษา

พุทธรักษา

เมืองไทยเมืองพุทธ คนไทยนับถือพุทธศาสนา

แต่ทว่า พุทธ ก็มิอาจช่วยรักษา เมื่อคนนับถือศาสนา ไม่ทำตาม

ศาสนาที่นับถือ

ทุกวันนี้สังคม เกิดปัญหามากมาย

หลายคนมุ่งหวังให้ศาสนาช่วยแก้ไขปัญหา

พอมีปัญหาก็วิ่งหาศาสนา

พอไม่มีปัญหา กลับหาศาสนาไม่เจอ

แต่กระนั้นก็ตาม"ศาสนาไม่ได้หายไปไหน" "พุทธยังรักษา"

พุทธรักษา
ชื่อสามัญ Canna, Indian shoot
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna generalis
ตระกูล CANNACEAE
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้น มีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้น โตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบกลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัด โคนใบมีก้านใบซึ่งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อน สลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การดูแลรักษา
แสง ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง
ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด
ความเชื่อ
คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง

02 September 2010

เข็มอินเดีย

"เข็มอินเดีย"

ดอกเข็ม สื่อความหมาย ว่าหลักแหลม ทิ่มแทง

อาจฟังดูแล้วโหดร้ายเป็นยิ่งหนัก แต่ก็ยังมีคนกล่าวขวัญถึงในเรื่อง

ของความสวยงาม เปรียบไปแล้วก็คงเหมือนกับว่า "สิ่งสวยงามใด

ไม่แฝงไว้ด้วยอันตราย นั้นไม่มี"

เข็มอินเดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cornus sanguinea
วงศ์ : Cornaceae (The Dogwood Family)
ชื่อสามัญ : Dogwood
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย มีเนื้ออ่อน ลำต้นอาจสูงประมาณ 18 - 20 นิ้ว มีขนระบายอยู่ทั่วลำต้นและใบ ลำต้นและกิ่งก้านจะเปราะ
ใบ : เป็นพรรณไม้ที่ไม่มีใบดก มีใบเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายอาจจะแหลม ยาวประมาณ 1.5 ถึง 2 นิ้ว
ดอก : จะออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามยอดของต้นเช่นเดียวกับดอกเข็ม ดอกจะมีอยู่ 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีชมพู จะออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด มีความชื้นพอประมาณ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำและตอนกิ่ง
ในภาษาดอกไม้
เข็มอินเดีย จะสื่อความหมายถึงความสงบ และส่งความรู้สึกเคารพ ให้กับผู้รับ

21 August 2010

ดอกผีเสื้อ


ดอกผีเสื้อ

ดอกผีเสื้อ สีสด งดงาม

ดอกผีเสื้อ คู่กับ ผีเสื้อ

ดอกผีเสื้อสร้างสรรความงาม

ผีเสื้อ สร้างพงศ์พันธ์ให้กับดอกไม้

ทุกสิ่งอย่างล้วนเกื้อกูลอาศัยกัน ไม่มีสิ้นสุด

เราเป็นมนุษย์ ใยจะไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ดอกผีเสื้อ
ผีเสื้อเป็นไม้พุ่มเล็กสูงประมาณ 10-15 นิ้ว ใบมีสีเขียวแก่ ลักษณะใบยาวปลายเรียวแหลม ขอบใบทั้งสองข้างมักจะโค้งเข้าหากลางใบเล็กน้อย ทำให้มีลักษณะคล้ายร่องน้ำ ใบออกเป็นคู่แบบสลับ โดยใบจะหุ้มรอบข้อทำให้ส่วนข้อมีลักษณะบวมโต ดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะจักๆ คล้ายฟันปลาหรือฟันเลื่อย กลีบหุ้มดอก มีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้ ดอกมีขนาดตั้งแต่ 2.5-3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว ชมพู แดง แดงอมม่วง และอาจมีสองสีในดอกเดียวกันเป็นไม้ดอกสกุลเดียวกับ คาร์เนชั่น มีดอกสวยงามสะดุดตา ส่วนใหญ่มีดอกสีชมพู จึงได้ชื่อว่า pink

ผีเสื้อ กับ คาร์เนชั่น นั้นมีข้อแตกต่างที่พอจะใช้สังเกตได้คือ
1.ดอกผีเสื้อไม่มีกลิ่น
2.ใบของผีเสื้อมีแผ่นใบกว้างกว่าของคาร์เนชั่น
3.ใบของคาร์เนชั่นมีสีเขียวอมเทาเงิน
ดอกผีเสื้อชอบแสงแดดจัด อุณหภูมิกลางคืนเย็นแต่ก็ไม่จำเป็นต้องเย็นมาก สามารถปลูกได้ในกรุงเทพฯ ดินปลูกต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารครบครัน โปร่ง มีอินทรีย์วัตถุสูง ถ้าต้องการดอกที่มีขนาดสม่ำเสมอ ดอกดกและดอกบานพร้อมๆ กัน ควรเด็ดยอดออก โดยทำการเด็ดยอดเมื่อต้นสูงประมาณ 6 นิ้ว หรืออาจเด็ดหลังจากปลูกได้ประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นต้นจะแตกกิ่งก้านทำให้พุ่มต้นใหญ่ขึ้น ระยะเวลาจากเพาะเมล็ดถึงให้ดอกประมาณ 3 เดือน

พันธุ์ที่ใช้ปลูกมี
  • พันธุ์ Bravo ดอกมีสีแดงเข้ม
  • พันธุ์ China Doll ดอกสีแดงเข้มแต้มขาว กลีบดอกซ้อน
  • พันธุ์ Snowflake ดอกสีขาว
  • พันธุ์ Snowfire เป็นลูกผสม ดอกมีสองสี คือ มีสีขาวเป็นพื้น ตรงใจกลางดอกมีสีแดง
  • พันธุ์ ในชุด Charm siries คือ Coral Charm มีสีชมพู, Crimson Charm มีสีแดง, White Charm มีสีขาว, Light Charm มีสีชมพูอ่อน

18 August 2010

ดอกหลิว

ดอกหลิว

รวมกันเราสวยงาม แยกกันเราแค่ "วัชพืช"

บางครั้ง บางคราว เราอาจจะคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองมี

ความสามารถ แต่ทว่าเราก็ใช่จะเก่งทุกด้านเสมอไป

มิเช่นนั้นแล้วคงสร้างรถยนต์เองได้

สร้างโทรศัพท์มือถือมาใช้เอง

มีคอมพิวเตอร์ที่สร้างใช้เอง

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรายังต้องพึ่งพากันอยู่ เราอยู่คนเดียวมิได้ เรารวมกลุ่มกัน เพื่อทำให้เข้มแข็งขึ้น

มิใช่ร่วมกลุ่มกัน เพื่อหาประโยชน์จากกลุ่ม "รวมกลุ่มเราสวยงาม แยกกันอยู่เราก็แค่ "วัชพืช"

ต้นหลิว
ชื่อวิทยาศาสตร์: C uphea hyssopifolia Humb. Bonpl.
ชื่อวงศ์: LYTHRACEAE
ลักษณะทั่วไป:เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีทรวดทรงของลำต้นเตี้ย
แตกกิ่งก้านสาขาเล็กๆ ออก รอบต้นจนแน่นทึบ ลำต้นสูงประมาณ 12-20 นิ้ว
ใบเป็นใบเดี่ยว
หลิวไต้หวันนี้ขนาดใบจะเล็ก ซึ่งเล็กอยู่ประมาณ 1 เซนติเมตรเท่านั้น

มีสีเขียวเข้มและเป้นมัน เนื้อใบหนาแข็งและระคายมือ มีใบดกจะแตกออกจนเป็นพุ่มหนาทึบ
จะแตกออกตรงโคนก้านใบตรงส่วนยอดของลำต้น ดอกมีสีม่วงสดหรือสีขาว ซึ่งดอกของหลิวไต้หวัน
นี้มีขนาดเล็กมาก ประมาณ 8 มิลลิเมตร และมีฐานรองดอกเป็นรูปกรวยสีเขียวเหลือง ตรงปลาย
จะมีกลีบเล็กๆ อยู่ 5-6 กลีบ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้าทั้งวัน การปลูกเลี้ยงง่าย ขึ้นได้
ทั่วไปโดยไม่เลือกดิน แต่เมื่อโตขึ้นควรจะเติมปุ๋ยให้ดีบ้าง ต้นจะได้ไม่ชะงักการเจริญเติบโต
ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
ส่วนของการขยายพันธุ์ ทำได้ง่ายๆด้วยการปักชำ

14 August 2010

หว่านสี่ทิศ

หว่านสี่ทิศ

อุดร บูรพา ทักษิณ ประจิม รวมกันเป็นหนึ่ง

ต่างทิศ ต่างทาง ต่างความคิด ต่างประสบการณ์ แต่ทว่าในความ

แตกต่างก็รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เพราะทุกทิศล้วนใช้ความแตกต่าง

เหล่านั้น ทำหน้าที่และประโยชน์ยังผลของส่วนร่วม หากยึดแต่ผล

ประโยชน์ของตน คงมีแต่ความขัดแย้ง มีก่อให้เกิด "หว่านสี่ทิศ"

ขอให้จดจำไว้ว่า "แตกต่าง ไม่แต่งแยก ใช้ความต่างให้เกิด

ประโยชน์ต่อส่วนร่วม จะเกิดผลยิ่งใหญ่ในหนึ่งเดียว"

หว่านสี่ทิศ
ว่านสี่ทิศเป็นพรรณไม้ดอกอายุสั้น พุ่มสูง 35 - 60 เซนติเมตร
มีลักษณะลำต้นเป็นหัวหรือเหง้า อยู่ใต้ดิน
และ ส่วนที่โผล่ขึ้นมานั้นจะเป็นส่วนก้านใบและตัวใบเท่านั้น ซึ่งหัวนี้ลักษณะจะคล้ายๆกับหอมหัวใหญ่ สำหรับใบที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปหอกเรียวยาว และมีสีเขียวสดเป็นมัน ใบหนา ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 - 30เซนติเมตร หรือาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ดอกออกปลายก้าน ออกเป็นช่อ 4 - 8 ดอก หันไปทั้งสี่ทิศ ดอกรูปถ้วย ขนาดดอก 8-15 เซนติเมตร มี 6 กลีบมี สีขาว สีชมพู สีแดง และบาางชนิด มีแถบสีต่างๆพาดกลีบ ดอกแรกที่จะบานจะรอจนดอกที่ 4 บานจึงจะเหี่ยว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน หัวโตเต็มที่พร้อมให้ดอกมีขนาด 4 เซนติเมตร ส่วนหัวลูกขนาดเล็ก แยกหัวนำมาปลูก เลี้ยงใบให้หัวโตเต็มที่ แล้วจะออกดอกต่อไปว่านสี่ทิศเป็นพรรณไม้ทีปลูกที่แสงแดดจัด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดมากๆเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยหรือดินปนทราย ระบายน้ำได้ดี แต่ก็ยังสามารถนำไปปลูกประดับในอาคาร ซึ้งก็เจริญเติบโตและให้ดอกได้เชยชมด้วยเช่นกัน
หว่านสี่ทิศ กับ ความเชื่อเรื่องไม้มงคล
ความเชื่อของคนสมัยก่อนของไทย
ได้เชื่อโชคลาภที่เกี่ยวกับว่านเป็นอย่างยิ่ง และในความเชื่อนนี้ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับว่านสี่ทิศ
ว่า ว่านสี่ทิศ ถ้าเลี้ยงว่านสี่ทิศ ให้ออกดอกพร้อมกันได้ทั้งสี่ดอกหรือสี่ทิศผู้ที่ปลูกเลี้ยง
จะมีโชคลาภ และหาก ว่าในช่วงที่ว่านสี่ทิศกำลังออกดอกทั้งสี่ทิศอยู่นั้น
ผู้เลี้ยงคิดจะทำอะไรหรือริเริ่มอะไร ก็จะประสบแต่ความสำเร็จสมหวังทุกประการ
แต่ถ้าว่านสี่ทิศออกดอกไม่ครบทั้งสี่ดอก หรือออกดอกแค่ 2 หรือ 3 ดอก
ก็เชื่อว่าจะไม่เป็นผลดีต่อผู้เลี้ยง เหมือนเป็นลางบอกเหตุว่าจะมีสิ่งไม่ดีเกิดแก่ผู้เลี้ยง

ชบาไพร


ชบาไพร

ดอกไม้ไทยๆ ที่หลายคนอาจมองข้ามไป ให้ความสนใจ

แต่ดอกไม้นานาชาติ จนหลงลืมความเป็นไทยไป

เมื่อย้อนกลับมาในสังคมไทย ก็คง ไม่ต่างกัน คนไทนหันไปตาม

กระแสโลกนิยม ไม่ว่าจะเป็น เกาหลี ญี่ปุ่น หรือ กระแสตะวันตก

จนหลงลืมความเป็นไทย

กลับมาเถอะ ให้ความสนใจบ้านตัวเอง

ให้ความสำคัญกระแสนิยมต่างชาติ

แค่แขกที่มาเยือน มาแล้วก็ผ่านไป แต่เรื่องราวความเป็นไทย

มันฝังลึกอยู่ในสายเลือด และพนธุกรรม ที่ทำอย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และจะอยู่กับตัวเองตลอดกาล

ดอกชบา
ชื่อสามัญ Chinese rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa sinensis.
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้าน
ปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆ
ทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความ
สูงโดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
ชบาไม้ดอกที่ปรับตัวเจริญเติบโตได้ทุกสภาพแวดล้อม แต่ที่เหมาะสมคือสภาพอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีน้ำขังแฉะ การให้น้ำควรให้สม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะสลัดใบล่างทิ้งอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้แล้วในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น เสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาว ไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
* ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
* ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่าง ละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
* ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
* รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
* รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
* บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
ดอกไม้ใช่มีแต่ความงาม แต่เป็นยารักษาโรคได้ด้วย

13 August 2010

ใบไม้บนสายน้ำ

ใบไม้กับสายน้ำ

ความจริงที่ว่า "ใบไม้ ก็มีความงามในตัว"

ความจริงที่ว่า "สายน้ำก็มีความงามในตัว"

แต่ทว่า "เมื่อความงามทั้งสองมาพบกัน"

จึงเกิดความงามในแบบใหม่ขึ้นมา

"เหมือนกับ มนุษย์เรา ที่อยู่คนเดียวได้ แต่ยังไงก็ต้องพึ่งพาคนอื่นๆ

ด้วย จึงจะทำให้ชีวิตลงตัว"

"อย่าใส่ใจแต่ตัวเอง จงสนใจคนรอบข้างบ้าง"



Marsilea crenata Presl, Rel. Haenk.
ผักแว่น(เหนือ อีสาน กลาง ), ผักลิ้นปี่(ใต้), หนูเต๊าะ(กระเหรี่ยง-ภาคเหนือ)
ผักแว่น เป็นเฟินน้ำที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามริมน้ำ หรือพื้นดินที่มีน้ำขังแฉะ รวมไปถึงตามนาข้าว ที่ชาวนาถือว่าเป็นวัชพืช แต่ผักก็ยังมีประโยชน์ สามารถนำมากินเป็นผักสด มีคุณค่าทางอาหาร และยังมีสรรพคุณทางยาด้วย

ลักษณะทั่วไป

ผักแว่น เป็นเฟิร์นน้ำชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามชายตลิ่ง หรือที่แฉะที่น้ำท่วมขัง มักพบเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นเป็นก้านยาวเลื้อยไปตามพื้น แตกรากและใบตามข้อหรือตาที่แตะกับพื้นและงอกเป็นต้นใหม่ มีก้านใบยาว แตกกิ่งก้านทอดเลื้อยตามพื้นดิน หรือบนผิวน้ำ มีราก และใบงอกออกตรงข้อ ลำต้นมีกลิ่นหอมคล้ายรำ เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว ตอนแก่มีสีน้ำตาล มีขนอ่อนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 4 ใบ ใบย่อยรูปร่างแบบสามเหลี่ยมปลายใบโค้งกลม ยาว 5-15 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายลิ่ม แตกออกจากปลายก้านใบจุดเดียวกัน โคนใบสอบเข้าหากัน ชอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น หรือเป็นจักฟันเลื่อย ไม่มีดอก แต่จะมีอับสปอร์เป็นเม็ดสีดำ คล้ายเมล็ดถั่วเขียว ออกเป็นช่อที่โคนก้านใบ มีก้านชู ขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลดำ

จากการทดลองค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
พบว่า ผักแว่นใช้รับประทานเป็นผัก ผักแว่น 100 กรัม ให้ พลังงาน 15 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 1 กรัม แคลเซี่ยม 37 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม เหล็ก 3.5 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 98.73 หน่วย RE

01 August 2010

บัวดิน

" บัวดิน "

กลีบขาว เกสรเหลือง ความงดงามของธรรมชาติที่เปล่ง

ประกายออกมา บัวดิน ฟังดูแล้วอาจไม่ยิ่งใหญ่ เหมือน

บัวหลวง บัวสวรรค์ แต่ทว่าความสวยงามย่อมมิแพ้กัน

เพราะแต่ละดอก แต่ละสายพันธุ์ต่างก็มีหน้าที่

และเอกลักษณ์ เฉพาะตัว เปรียบไปแล้วก็เหมือนกับ

คน ต่างมีคุณสมบัติ รูปลักษณ์มีหน้าที่แตกต่างกัน แต่

ทว่า ทุกคนล้วนแต่เป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนโลกให้เดินหน้าต่อไป ขอทุกคนจงตระหนักในหน้าที่

ของตนให้ดี

"บัวดิน"
ชื่ออย่างเป็นทางการของดอกไม้ชนิดนี้คือ "บัวสวรรค์"
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zephyranthes spp.
วงศ์ : Amarylieaceae
ชื่อสามัญ : Zephyranthes
ชื่ออื่น ๆ : Zephyranthes Lily, Rain Lily ,Fairy Lily, Little Witches, บัวสวรรค์, บัวดิน, บัวฝรั่ง
ดอกไม้ชนิดนี้แม้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ แต่ก็มาอยู่บ้านเรานานแล้ว นานจนคนไทยในภาคเหนือเรียก ดอกไม้ชนิดนี้ว่า ดอกเข้าพรรษา
ดอกบัวดิน มีสีอยู่หลายสีด้วยกัน ไม่วาจะเป็นสีขาว สีชมพู สีเหลือง
จะออกดอกได้สวยงามเมื่ออยู่ในฤดูฝน (ดังนั้นจึงเรียกว่า ดอกเข้าพรรษา นั่นเอง)

27 July 2010

สูงเสียดฟ้า ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว

"สูงเสียดฟ้า ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว"

"เหนือฟ้า ยังมีฟ้า"

ความจริงของโลก สัจจะธรรมแห่งชีวิต

ไม่มีใครยิ่งใหญ่เกินใคร

ไม่มีใครอยู่สูงเกินใคร

"รู้ตน รู้ตัว อยู่เสมอ แล้วจะรู้ว่าต้องทำอะไร"



ดอกหญ้าบนดอยสูง
ความงามที่ซ่อนอยู่ ผู้คนเดินน้อยนักที่จะมีโอกาสเข้าไปสัมผัส แต่จะมีใครสักกี่คน ที่ตะเกียกตะกาย เพื่อไปยลโฉมความงามของดอกหญ้าบนดอยบ้าง บางครั้งคนชอบมองอะไรผิวเผิน มองแต่สิ่งใกล้ตัว แต่พอได้สัมผัสก็ไม่สวยงามอย่างที่เห็น....บางทีคนเราต้องหัดมองในสิ่งต่างๆที่หลากหลายมุมมอง ไม่ยึดติดแค่ลักษณะเดียวเท่านั้น เฉกเช่นดอกหญ้ามองดูไร้ค่า แต่ทว่าเมื่อเปลี่ยนสถานที่มอง ก็สวยงามยิ่งใหญ่ไม่แพ้ใคร

25 July 2010

เทียนทอง ดอกม่วงคราม

"ม่วง คราม"

"สีม่วง" หลายคน ดูแล้วอาจจะคิดว่าดูเศร้า เป็นสีตัวแทนของกลุ่ม

คนแต่ละกลุ่ม เป็นสัญลักษณ์ของอะไรหลายๆอย่างๆ

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม

"เราก็คิดว่า สีม่วง ก็เป็นสีหนึ่ง ที่ร่วมสร้างสีสรรบนโลกใบนี้"

ดอกเทียนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Duranta erecta L.
ตระกูล VERBENACEAE วงศ์ไม้สัก
ชื่อสามัญ Croton
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงแน่นทึบเปลือกสีน้ำตาลอ่อนเป็นใบเดี่ยว รูปรีถึงรูปไข่
ออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบสีเขียวอ่อน อมเหลือง ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ขนาดใบกว้างประมาณ 1.5 -3เซนติเมตร
ดอกเทียนทอง จะห้อยยาวออกมาที่ซอกใบ บริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยออกจำนวนมาก โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวและสีม่วง
เทียนทองชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน

25 June 2010

ลีลาวดี

" ลีลาวดี สดสี ขาวสวย"

"ไม่ยิ่งใหญ่ เทียมฟ้านภาลัย"

"แต่จับใจ ไม่แพ้ใคร"

ในวันนี้ที่ฟ้ามืดครึ้ม แสงแดดรำไร ชวนให้ใครหลายคนเศร้าหมอง

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้ ต่อความเศร้าหมองนี้ ปรากฎสู้ต่อสายตาที่หงอยเหงาของใครหลายคน

"ลั่นทม" สมชื่อกับบรรายากาศและอารมณ์

"ลีลาวดี" สวยสดใส สู้ภัยกัยความเหงา

ในบรรยากาศแบบนี้ ใครหนอ "จะเรียกเจ้าว่า อย่างไร"

ลีลาวดี
ลีลาวดี หรือ ลั่นทม (Frangipani, Plumeria, Templetree)
เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria
นอกจากนี้แล้ว ดอกลีลาวดี ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติ ของประเทศลาว อีกด้วย
ลีลาวดีมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา พบในบริเวณพื้นที่ ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกตอนใต้ถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกา โดยเฉพาะหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน
ลีลาวดีเป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนา ต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น
ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไป ใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกัน
ช่อดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบ บางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ลักษณะของ ดอก โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอก ส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน ยากต่อการผสมตัวเอง
ฝัก มีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ
ลีลาวดี เป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี
ลีลาวดี เป็นไม้ประดับที่มีผู้สนใจปลูกกันอย่างมากในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดใจในความงามของทรงต้น ใบ และดอกที่มีหลากสีสัน โดยเมื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์แล้วจะได้สีที่แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดอกยังมีกลิ่นหอม อีกประการหนึ่งคือลีลาวดีเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีคุณสมบัติใช้เป็นสมุนไพร
ใน อดีตไม้ชนิดนี้จะไม่นิยมปลูกในบ้านเรือนเลย เพราะเนื่องจากความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความหมายของชื่อเดิมคือ “ลั่นทม” ทำให้ลั่นทมมีปลูกไว้เฉพาะในวัด และตามโบราณสถานต่าง ๆ ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาหลังจากเป็นที่รู้จักและคุ้นหูในนามของ “ลีลาวดี” เพียงเท่านี้ต้นลีลาวดีก็เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก
ในสมัยก่อน มีต้นลีลาวดีมีเพียง 2 สายพันธุ์คือ
1. ลีลาวดีขาว อย่างที่เห็นกันตามวัดวาอาราม ลีลาวดีขาวจะชอบแดด มีความสูงตั้งแต่ 3 - 7 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านดูอวบ มีสีน้ำตาลปนเทา เป็นใบเดี่ยวรูปคล้ายหอก ยาว 20 - 30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวรูปกรวย มีกลีบดอก 5 กลีบ จะมีกลิ่นหอมมาก มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก
2. ลีลาวดีแดง ทุกอย่างจะเหมือนลีลาวดีขาว ยกเว้นใบ ที่บางครั้ง จะออกสีเขียวเข้ม ดอกมีสีแดงทั้งดอก ก้านออกเป็นสีม่วงแดง ดอกมีกลิ่นหอม ทั้งสองชนิดมีอายุยืน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 กว่าปี
การดูแลรักษา
* ดิน ต้องเป็นดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี วัสดุปลูกที่ใช้ควรเป็นดิน กาบมะพร้าวสับ แกลบ ปุ๋ยคอก/เศษใบไม้ผุ ในอัตรา 1: 1: 1: 1 หรือ หาซื้อดินสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดก็ได้
* การให้น้ำ หากปลูกในกระถาง ควรให้น้ำจนดินเปียกทั่วถึง สังเกตได้จากน้ำส่วนเกินที่จะระบายออกทางรูระบายน้ำที่ก้นกระถาง หลังจากนั้นจึงให้น้ำครั้งต่อไปเมื่อวัสดุปลูกแห้ง และควรตรวจดูความชื้นของวัสดุปลูกอยู่เสมอ หากปลูกลงดิน ควรให้น้ำแต่น้อยโดยให้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ เพราะถ้าให้น้ำมากเกินไปจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมาก และอาจส่งผลให้ลีลาวดีไม่ออกดอกได้
* การให้ปุ๋ย เนื่องจากต้นลีลาวดีที่สวยและมีราคา สูงนั้น จะต้องมีฟอร์มต้นที่ดี คือ มีลักษณะของทรงพุ่มกลม มีกิ่งก้านสาขาแตกออก ดูแล้วมีความพอดีกับความสูงของต้น ดังนั้น การให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ต้นสูงชะลูดและไม่แทงช่อดอกใน เวลาอันควร ในการที่จะเร่งการเจริญเติบโตทั้ง ทางใบ ลำต้น และดอก คือการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรือให้ฟอสฟอรัสสูงและให้ธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อลีลาวดีคือ แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก สังกะสี กำมะถัน และแมงกานีส อีกทั้งเพื่อให้ต้นลีลาวดีออกดอกอย่างสม่ำเสมอ