คุณนายตื่นสาย
คุณนายตื่นสาย ถ้าไม่ใช่คุณนายก็ตื่นสายไม่ได้
ดังคำสอนที่ว่า
"อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา"
ถ้าทำแบบนี้ได้ เชื่อว่าทุกๆคน บนโลกนี้คงได้เป็นคุณหญิง คุณนาย คุณชาย (ไม่นอนตื่นสาย)แน่นอนเลยทีเดียว
คุณนายตื่นสาย
ชื่อสามัญ: Flowering Purslane, Pussley
วงค์: Portulacaceae:
ชื่อวิทยาศาสตร์: Portulaca oleracea L.
ถิ่นกำเนิด: อินเดีย
คุณนายตื่นสายเป็นไม้ดอกอายุหลายปี พุ่มสูง 10-20 cm. เจริญเร็ว ลักษณะลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยตามผิวดิน แผ่นใบอวบน้ำ มักออกดอกช่อตามซอกใบและปลายยอด มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอกบาง มีสีขาว เหลือง ชมพู บานเย็น ส้ม แดง และสองสีในดอกเดียวกัน ออกดอกดกตลอดปี ดอกของคุณนายตื่นสายจะเริ่มทยอยบานเมื่อได้รับแสงแดดจัดในตอนเช้า ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ "คุณนายตื่นสาย"
ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่กลับแกมรูปรี กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายใบ
แหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบอวบน้ำ ผิวใบด้านบนสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์มีขอบใบขลิบสีแดง
สีของดอก มีสีขาว ชมพู แดง เหลือง ส้ม ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกชั้นเดียว
บอบบาง ขอบกลีบดอกหยักเป็นคลื่น บานเมื่อได้รับแสงแดดตอนเช้า ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร
การปลูกและการดูแลรักษา
คุณนายตื่นสายนั้นเหมาะที่จะปลูกในที่ ๆ มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง
ปกติคุณนายตื่นสายชอบดินทรายหรือดินปนทราย ไม่ชอบแฉะ จึงทนแล้งได้ดีกว่าแฉะ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมดิน ที่มีการระบายน้ำได้ดี
20 September 2010
14 September 2010
ดอกแตงกวา
ดอกแตงกวา
ดอกแตงกวา ดอกไม้ที่ไม่ค่อยมีใครเห็น แต่ทว่าทุกคนสนใจแต่ที่ผลของมัน
เปรียบไปแล้วก็เหมือนกับคนเรา ที่ทุกครั้งทุกครา ก็จะมาหาแต่ผล(ประโยชน์) ให้ได้มาซึ่งตอบสนองความต้องการส่วนตน ต้องการที่จะเรียนรัดขั้นตอน ให้ได้เร็วที่สุด ดังนั้น น้อยคนนักที่จะสนใจถึงวิธีการได้มาตามกระบวนการที่ควรเป็นไป จึงขาดโอกาสที่จะได้สัมผัสกับการเรียนรู้ พบเจอ กับปัญหาอุปสรรค พลาดไปกับความสวยงามที่เรียงรายระหว่างทาง
มีหลายสิ่งที่คนต้องเรียนรู้ และเรียนรู้ต้องครบกระบวนการ เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่แน่วแน่มากขึ้น
แตงกวา
ชื่อสามัญ : Cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis Sativus Linn.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
เดิมนั้นแตงกวาเป็นพืชพื้นถิ่นของอินเดีย ความที่แตงกวาคงเป็นนักเดินทางจึงมุ่งหน้าไปลงหลักปักฐานยังกรีซ อิตาลี ฝรั่งเศส จนถึงอเมริกาเหนือ เมื่อราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มมีการปลูกแตงกว่า รวมแล้วมนุษย์เรารู้จักแตงกวามามากกว่า 3,000 ปีเลยทีเดียว
ลักษณะทั่วไป
แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อยที่มีมือเกาะ ช่วยพยุงลำต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ลำต้นยายประมาณ 2-3 เมตร มีรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีมุมแหลม 3-5 แฉก ดอกเป็นดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะเกิดเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ดอกตัวเมียจะเกิดเดี่ยวๆ มีสีเหลือง สังเกตได้ง่าย คือมี ลักษณะคล้ายแตงกวาผลเล็ก ๆ ติดกับกลีบดอก ส่วนดอกตัวผู้จะมีเฉพาะก้านดอกเท่านัน ในการปลูกแตงกวา ถ้ามีดอกตัวเมียมากจะทำให้ได้ผลผลิตสูง
ผลในขณะยังเล็กจะสังเกตเห็นหนามได้อย่างชัดเจน หนามของแตงกวาจะมีสีขาวและสีดำ แตงกวาหนามสีดำจะเก็บได้เพียง 3-4 วัน หลังเก็บจากต้น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง นิ่ม ไม่กรอบ ส่วนแตงกวา ที่มีหนามสีขาวจะมีคุณสมบัติพิเศษ เก็บไว้ได้นานประมาณ 7 วัน โดยไม่นิ่ม และไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็ว
แตงกวาเป็นพืชที่ชอบน้ำและความชื้นพอประมาณ ระยะแรกควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ จนแตงกวาเริ่มออกดอกจึงลดลงเหลือ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ไม่ควรปล่อยให้แตงกวาขาดน้ำ ในระยะออกดอก จะทำให้ดอกร่วง แตงกวาที่ขาดน้ำจะมีรสขม
เมื่อแตงกวามีอายุ 30-40 วัน หลังจากหยอดเมล็ดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากเก็บผลแตงกวาแล้วต้องรีบนำเข้าที่ร่มทันที ห้ามล้าง เพราะจะทำให้ผลเหลืองเร็ว หลังฝนตกใหม่ ๆ ไม่ควรเข้าไปเก็บเกี่ยว ควรรอให้ดินแห้งดีก่อน
แตงกวาชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ถ้าร้อนเกินไปแตงกวาก็จะมีแต่ดอกตัวผู้ ทำให้ได้ผลผลิตน้อย สภาพอุณหภูมิของไทยสามารถปลูกแตงกวาได้ตลอดปี ผลผลิตที่ได้ก็อาจแตกต่างกันไปบ้าง
สรรพคุณทางยา
น้ำแตงกวา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก
ใบ สามารถใช้แก้ท้องเสีย บิด
เถา ช่วยลดความดันโลหิตได้
เมล็ดแก่ ใช้เป็นยาขับพยาธิ
ผลและเมล็ดอ่อน มีสรรพคุณฝาดสมาน เสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหายน้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ทำให้ผิวขาวใสและนุ่มนวล ช่วยบำรุงผมและเล็บ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์และบวมน้ำถ้ากินเป็นประจำ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ดอกแตงกวา ดอกไม้ที่ไม่ค่อยมีใครเห็น แต่ทว่าทุกคนสนใจแต่ที่ผลของมัน
เปรียบไปแล้วก็เหมือนกับคนเรา ที่ทุกครั้งทุกครา ก็จะมาหาแต่ผล(ประโยชน์) ให้ได้มาซึ่งตอบสนองความต้องการส่วนตน ต้องการที่จะเรียนรัดขั้นตอน ให้ได้เร็วที่สุด ดังนั้น น้อยคนนักที่จะสนใจถึงวิธีการได้มาตามกระบวนการที่ควรเป็นไป จึงขาดโอกาสที่จะได้สัมผัสกับการเรียนรู้ พบเจอ กับปัญหาอุปสรรค พลาดไปกับความสวยงามที่เรียงรายระหว่างทาง
มีหลายสิ่งที่คนต้องเรียนรู้ และเรียนรู้ต้องครบกระบวนการ เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่แน่วแน่มากขึ้น
แตงกวา
ชื่อสามัญ : Cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis Sativus Linn.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
เดิมนั้นแตงกวาเป็นพืชพื้นถิ่นของอินเดีย ความที่แตงกวาคงเป็นนักเดินทางจึงมุ่งหน้าไปลงหลักปักฐานยังกรีซ อิตาลี ฝรั่งเศส จนถึงอเมริกาเหนือ เมื่อราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มมีการปลูกแตงกว่า รวมแล้วมนุษย์เรารู้จักแตงกวามามากกว่า 3,000 ปีเลยทีเดียว
ลักษณะทั่วไป
แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อยที่มีมือเกาะ ช่วยพยุงลำต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ลำต้นยายประมาณ 2-3 เมตร มีรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีมุมแหลม 3-5 แฉก ดอกเป็นดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะเกิดเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ดอกตัวเมียจะเกิดเดี่ยวๆ มีสีเหลือง สังเกตได้ง่าย คือมี ลักษณะคล้ายแตงกวาผลเล็ก ๆ ติดกับกลีบดอก ส่วนดอกตัวผู้จะมีเฉพาะก้านดอกเท่านัน ในการปลูกแตงกวา ถ้ามีดอกตัวเมียมากจะทำให้ได้ผลผลิตสูง
ผลในขณะยังเล็กจะสังเกตเห็นหนามได้อย่างชัดเจน หนามของแตงกวาจะมีสีขาวและสีดำ แตงกวาหนามสีดำจะเก็บได้เพียง 3-4 วัน หลังเก็บจากต้น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง นิ่ม ไม่กรอบ ส่วนแตงกวา ที่มีหนามสีขาวจะมีคุณสมบัติพิเศษ เก็บไว้ได้นานประมาณ 7 วัน โดยไม่นิ่ม และไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็ว
แตงกวาเป็นพืชที่ชอบน้ำและความชื้นพอประมาณ ระยะแรกควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ จนแตงกวาเริ่มออกดอกจึงลดลงเหลือ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ไม่ควรปล่อยให้แตงกวาขาดน้ำ ในระยะออกดอก จะทำให้ดอกร่วง แตงกวาที่ขาดน้ำจะมีรสขม
เมื่อแตงกวามีอายุ 30-40 วัน หลังจากหยอดเมล็ดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากเก็บผลแตงกวาแล้วต้องรีบนำเข้าที่ร่มทันที ห้ามล้าง เพราะจะทำให้ผลเหลืองเร็ว หลังฝนตกใหม่ ๆ ไม่ควรเข้าไปเก็บเกี่ยว ควรรอให้ดินแห้งดีก่อน
แตงกวาชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ถ้าร้อนเกินไปแตงกวาก็จะมีแต่ดอกตัวผู้ ทำให้ได้ผลผลิตน้อย สภาพอุณหภูมิของไทยสามารถปลูกแตงกวาได้ตลอดปี ผลผลิตที่ได้ก็อาจแตกต่างกันไปบ้าง
สรรพคุณทางยา
น้ำแตงกวา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก
ใบ สามารถใช้แก้ท้องเสีย บิด
เถา ช่วยลดความดันโลหิตได้
เมล็ดแก่ ใช้เป็นยาขับพยาธิ
ผลและเมล็ดอ่อน มีสรรพคุณฝาดสมาน เสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับ แก้กระหายน้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ทำให้ผิวขาวใสและนุ่มนวล ช่วยบำรุงผมและเล็บ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์และบวมน้ำถ้ากินเป็นประจำ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
11 September 2010
พุทธรักษา
พุทธรักษา
เมืองไทยเมืองพุทธ คนไทยนับถือพุทธศาสนา
แต่ทว่า พุทธ ก็มิอาจช่วยรักษา เมื่อคนนับถือศาสนา ไม่ทำตาม
ศาสนาที่นับถือ
ทุกวันนี้สังคม เกิดปัญหามากมาย
หลายคนมุ่งหวังให้ศาสนาช่วยแก้ไขปัญหา
พอมีปัญหาก็วิ่งหาศาสนา
พอไม่มีปัญหา กลับหาศาสนาไม่เจอ
แต่กระนั้นก็ตาม"ศาสนาไม่ได้หายไปไหน" "พุทธยังรักษา"
พุทธรักษา
ชื่อสามัญ Canna, Indian shoot
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna generalis
ตระกูล CANNACEAE
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้น มีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้น โตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบกลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัด โคนใบมีก้านใบซึ่งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อน สลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การดูแลรักษา
แสง ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง
ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด
ความเชื่อ
คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง
เมืองไทยเมืองพุทธ คนไทยนับถือพุทธศาสนา
แต่ทว่า พุทธ ก็มิอาจช่วยรักษา เมื่อคนนับถือศาสนา ไม่ทำตาม
ศาสนาที่นับถือ
ทุกวันนี้สังคม เกิดปัญหามากมาย
หลายคนมุ่งหวังให้ศาสนาช่วยแก้ไขปัญหา
พอมีปัญหาก็วิ่งหาศาสนา
พอไม่มีปัญหา กลับหาศาสนาไม่เจอ
แต่กระนั้นก็ตาม"ศาสนาไม่ได้หายไปไหน" "พุทธยังรักษา"
พุทธรักษา
ชื่อสามัญ Canna, Indian shoot
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna generalis
ตระกูล CANNACEAE
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้น มีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้น โตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบกลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัด โคนใบมีก้านใบซึ่งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อน สลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การดูแลรักษา
แสง ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง
ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด
ความเชื่อ
คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง
02 September 2010
เข็มอินเดีย
"เข็มอินเดีย"
ดอกเข็ม สื่อความหมาย ว่าหลักแหลม ทิ่มแทง
อาจฟังดูแล้วโหดร้ายเป็นยิ่งหนัก แต่ก็ยังมีคนกล่าวขวัญถึงในเรื่อง
ของความสวยงาม เปรียบไปแล้วก็คงเหมือนกับว่า "สิ่งสวยงามใด
ไม่แฝงไว้ด้วยอันตราย นั้นไม่มี"
เข็มอินเดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cornus sanguinea
วงศ์ : Cornaceae (The Dogwood Family)
ชื่อสามัญ : Dogwood
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย มีเนื้ออ่อน ลำต้นอาจสูงประมาณ 18 - 20 นิ้ว มีขนระบายอยู่ทั่วลำต้นและใบ ลำต้นและกิ่งก้านจะเปราะ
ใบ : เป็นพรรณไม้ที่ไม่มีใบดก มีใบเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายอาจจะแหลม ยาวประมาณ 1.5 ถึง 2 นิ้ว
ดอก : จะออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามยอดของต้นเช่นเดียวกับดอกเข็ม ดอกจะมีอยู่ 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีชมพู จะออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด มีความชื้นพอประมาณ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำและตอนกิ่ง
ในภาษาดอกไม้
เข็มอินเดีย จะสื่อความหมายถึงความสงบ และส่งความรู้สึกเคารพ ให้กับผู้รับ
ดอกเข็ม สื่อความหมาย ว่าหลักแหลม ทิ่มแทง
อาจฟังดูแล้วโหดร้ายเป็นยิ่งหนัก แต่ก็ยังมีคนกล่าวขวัญถึงในเรื่อง
ของความสวยงาม เปรียบไปแล้วก็คงเหมือนกับว่า "สิ่งสวยงามใด
ไม่แฝงไว้ด้วยอันตราย นั้นไม่มี"
เข็มอินเดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cornus sanguinea
วงศ์ : Cornaceae (The Dogwood Family)
ชื่อสามัญ : Dogwood
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย มีเนื้ออ่อน ลำต้นอาจสูงประมาณ 18 - 20 นิ้ว มีขนระบายอยู่ทั่วลำต้นและใบ ลำต้นและกิ่งก้านจะเปราะ
ใบ : เป็นพรรณไม้ที่ไม่มีใบดก มีใบเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายอาจจะแหลม ยาวประมาณ 1.5 ถึง 2 นิ้ว
ดอก : จะออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามยอดของต้นเช่นเดียวกับดอกเข็ม ดอกจะมีอยู่ 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีชมพู จะออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด มีความชื้นพอประมาณ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำและตอนกิ่ง
ในภาษาดอกไม้
เข็มอินเดีย จะสื่อความหมายถึงความสงบ และส่งความรู้สึกเคารพ ให้กับผู้รับ
Subscribe to:
Posts (Atom)